วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

                                         Record 16
                                        24/11/2015


Knowledge

นำเสนอบทความ
นางสาวรัชดา เทพเรียน เรื่อง หลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
(Science Preschool is necessary or not) สสวท
สำรวจว่าครูสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ?
   การสอนวิทยาศาสตร์ ครูไม่ควรสอนเนื้อหาด้วยวิธีการบอกเล่า เพราะไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติ ได้รู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองโดยมีครูคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำ

นางสาวเปมิกา ซุติมาสวรรค์ เรื่อง วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
(Science for young children) ผู้แต่ง ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


     วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ  เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสำรวจเกี่ยวกับ เรื่องหิน ดิน อากาศ ท้องฟ้า สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กเริ่มมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศสตร์ ดังนั้นการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก

นางสาวชะนาภา  คะปัญญา เรื่อง การจักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย (Early Childhood Learning Management Sciences ) โดย มิสวัลลภา ขุมหิรัญ
การพัฒนาแนวคิด
1.ด้วยวิธีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
2.ใช้การตั้งคำถาม
3.การทดลอง
4.การสังเกตุและหาข้อสรุป

ความตระหนัก
ให้เด็กมีมุมมองรู้สึกรับผิดชอบในงาน
- สิ่งต่างๆที่ทำต้องการที่จะหาอะไร
- ทำอะไรได้บ้าง
- เห็นอะไรบ้าง
- สิ่งต่างๆบบอกอะไร

ส่งเสริมจัดประสบการณ์
1.สนับสนุนความอยากรู้อยากเห็น
2.สนับสนุนโดยการใช้คำถาม
3.ให้ใช้ประสาทสัมผัสสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้
4.ส่งเสริมกระบวนการคิดเชื่อมโยงความรู้เดิม เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความดูแลและความรับผิดชอบ
7.เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความรู้สึก



นางสาวชนากานต์  พงษ์สิทธิศักดิ์ เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) ผู้เขียน ผ.ศ. บุบผา เรืองรอง
ขอบข่ายของเนื้อหา = อากาศคืออะไร
ได้ขอบข่ายแล้วมาจัดกิจกรรม โดยให้เด็กเล่นบทบาทสมมุติ ให้เด็กเป็นทอโมมิเตอร์ ทำตามคำบรรยายของครู เช่น ให้เด็กเอามือพัด ทำไหมเวลาเราเอามือพัดใกล้ๆหน้า หน้าเราถึงรู้สึกเย็น เพราะเกิดจากอากาศเคลื่อนที่ผ่านวัตถุ

นำเสนอวิจัย
นางสาวประภัสสร คำบอพิทักษ์ เรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
1. ศิลปะย้ำ
2. ศิลปะปรับภาพ
3. ศิลปะเปลี่ยนแบบ
4. ศิลปะถ่ายโยง
5. ศิลปะบูรณาการ
6. ศิลปะค้นหา

การดำเนินกิจกรรม
1.ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้
2.ขั้นกรองสู่มโนทัศน์
3.ขั้นนำสู่งานศิลปะ
4.ขั้นสรุปสาระที่ควรเรียนรู้


ตัวอย่างแผน





นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก 

เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์ สุมาลี หมวดไธสง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย


ตัวอย่างแผน







  

ตัวอย่างแบบทดสอบ








นำเสนอโทรทัศน์ครู


นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เรื่อง พ้ฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญ


ทางวิทยาศาสตร์

ครูนำไข่ 2 ใบ มาโยนขึ้นพร้อมกันให้เด็กสังเกตว่าหลังจากโยนไข่


แล้วเกิดอะไรขึ้น เด็กสังเกตเห็นว่า ไข่ใบ 1 แตก อีกใบ 1 ไม่แตก และ

สังเกตเห็นอีกว่าไข่ที่ไม่แตกนั้นคือไข่ต้ม

  
Skill
   อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอบทความ มานำเสนอจนครบพร้อมสรุปบทความ โทรทัศน์ครู และวิจัย

Application
   นำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์และบูรณาการในการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอพร้อมทั้งจดบันทึก แต่งกายถูกระเบียบ 

Evaluation for classmated
   เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอและแสดงความคิดเห็น

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม ให้ความรู้ต่อการนำเสนอของแต่ละบทความอย่างละเอียด

Classroom Evaluation
  ห้องกว้าง สะอาด  บรรยากาศเย็น  อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย


                                             Record 15
                                            21/11/2015

                   
Knowledge


ของเล่นกับพัฒนาการเด็กไทย



    เราไม่อาจทราบได้ว่าของเล่นในยุคดึกดำบรรพ์แบบแรกแรกคืออะไรและใครเป็นผู้คิดทำขึ้นประวัติความเป็นมาที่พอจะทราบได้ก็ได้จากอารยธรรมที่หลงเหลืออยู่ของชาวอียิปต์โบราณ ลูกบอลและลูกข่างอียิปต์โบราณมีอายุราว 1250 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตุ๊กตาเสือจากเมืองทิฟอายุประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตกาลตาทำด้วยแก้วฟันทำด้วยสำริดและปากเปิดปิดได้ ภาพเขียนจีนในตอนต้นของทศวรรษที่ 19 แสดงให้เห็นการเล่นว่าวที่เป็นทางของเล่นเด็กและการพักผ่อนในยามว่างของผู้ใหญ่ หมีเท็ดดี้แบร์ตัวแรกสูงประมาณ 7 นิ้วสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1907 ตุ๊กตาลูกบอลและตัวหมากที่มีอายุระหว่าง 1250 ถึง 10000 ปีก่อนคริสตกาล รถมาทำด้วยดินเคลือบจากกรีดอายุประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล ภาพจากต้นฉบับภาษาเยอรมันปีค.ศ. 1405 แสดงให้เห็นชายหนุ่มกำลังเล่นว่าวบนหลังม้า ของเล่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเล่น ๆ ของ เล่นนับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและพัฒนาร่างกาย สมองส่วนต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก ๆนอกจากการ เล่นของเล่นจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีเบิกบานแล้ว การเล่นของเล่นยังช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ และฝึกทักษะในการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กใน ช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่นกับผู้คนหรือของเล่น ถือเป็นรากฐานที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อ ๆ มา


ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่น
ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวบุคคลไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเกินความสามารถที่จะมีได้แต่เป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในทักษะการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความอยากรู้และการลงมือกระทำเช่นการเล่นของเล่นสามารถสร้างจินตนาการให้กับเด็ก ความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามีหลายระดับ เช่น
1. การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความคิดความรู้สึกของตน เช่น การวาดภาพ
2. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่กำหนดให้เช่นให้ทำกระเป๋าจากเศษกระดาษทำกรงนกจากเถาวัลย์การคิดเมนูอาหารใหม่ๆ
3. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบและมีการทดลองเช่นเครื่องซักผ้าเครื่องดูดฝุ่นเตาไมโครเวฟรถยนต์
4. การสร้างสรรค์หลักการแนวคิดใหม่ๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้นเช่นระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ

เล่นเพื่อการเรียนรู้
ของเล่นคือของที่มีไว้ใช้ในการเล่นเพื่อความสนุกสนานและเพลิดเพลินของเล่นมีประโยชน์ทำให้เกิดจินตนาการฝึกสมองฝึกความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นพัฒนาการต่างๆของร่างกาย
เล่นไปทำไม
นักวิชาการและนักปรัชญาหลายท่านได้เคยได้คำนิยามการเล่นไว้ว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้
Herbert Spencer (เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์)
นักปราชญ์ชาวอังกฤษการเล่นเพื่อระบายเป็นพลังที่มีอยู่อย่างล้นเหลือ

Karl Gross (คาร์ล กร๊อส)
นักปรัชญาชาวเยอรมันการเล่นเป็นสัญชาตญาณในการเตรียมตัวเพื่อจะได้มีทักษะเพื่อเตรียมตัวดำรงชีวิตแบบผู้ใหญ่ 
เล่นแล้วได้อะไร
การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการในทุกทุกด้านซึ่งทำให้เด็กพัฒนาความสามารถด้านต่างๆของชีวิตได้แก่
1. ด้านร่างกายการเล่นเป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่งซึ่งจะ เสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการกล้ามเนื้อ
2. ด้านจิตใจและอารมณ์ การเล่นทำให้เด็กเกิดจินตนาการรู้จักคิดและแก้ปัญหาเกิดความคิดสร้างสรรค์ความสนุกสนานและผ่อนคลาย
3. ด้านสังคมการเล่นกับผู้อื่นจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ผู้คนรอบข้างรู้จักการแบ่งปันรู้แพ้รู้ชนะซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคม
 4. ด้านภาษาเมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่นความสามารถด้านภาษาและการสื่อสารจะถูกพัฒนาด้านการเรียนรู้การเล่นแต่ละแบบ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกันไปของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในทางกลับกันบางอย่างอาจจะฝึกในเรื่องของภาษา

ทรัพยากรในการทำของเล่น
ผลผลิตจากมะพร้าวเส้นทางมะพร้าวใบมะพร้าวกาบมะพร้าวและกะลามะพร้าวนำมาทำเดินกะลารถลากกาบมะพร้าวเป็นต้น ไม้มะค่าประดู่ไม้แดงไม้ชิงชันไม้มะขามและไม้มะม่วงนำมาแกะเป็นรูปสัตว์หรือนำมาแกะเป็นลูกข่างเป็นต้น ไม้ไผ่เช่น ไผ่สีสุกไผ่ซางและไผ่บงนำมาทำไม้โถกเถกและว่าเป็นต้น
ผลผลิตจากต้นกล้วยเช่นลำต้นกล้วยใบกล้วยทางกล้วยและเชือกกล้วยนำมาทำม้าก้านกล้วยปืนก้านกล้วยเป็นต้น เมล็ดของต้นไม้ในท้องถิ่นเช่นลูกสะบ้าลูกยางลูกยางนาเมล็ดมะม่วงกะล่อนและเมล็ดกะหล่ำตาแดงนำมาทำลูกข่างลูกยางนำมาโยนให้หมุนเป็นเกลียวเป็นต้น
เครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการทำของเล่นส่วนใหญ่ก็คือเครื่องมือหัตถกรรมเช่นมีดชนิดต่างๆเลื่อยและเหล็กแหลมที่จะช่วยทุ่นแรงในการทำของเล่นซึ่งต้องอาศัยฝีมือความปราณีตและจินตนาการในการสร้างสรรค์ของเล่นภูมิปัญญาไทย


                             



เสียงจากพงไพร
ทำไมกบไม้จึงมีเสียงดัง เสียงกบเกิดจากการเอาไม้ครูดที่บริเวณหลังกบ ไม้หลังกบจะเกิดการสั่นสะเทือนและทำให้อากาศภายในช่องท้องเกิดการสั่นสะเทือนและสร้างเสียงออกมา เสียงจะเป็นอย่างไรถ้าเปลี่ยนชนิดของไม้ท่ากบตัวใหญ่หรือตัวเล็ก

หยุดไม่อยู่
ทำไมกำหมุนจึงหมุนอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราดึงเชือกที่ยึดกับแกนกลางใบพัดจัดทำให้ใบพัดหมุนเมื่อปล่อยมือใบพัดจะหมุนอย่างต่อเนื่องเพราะความเฉื่อยเมื่อดึงแล้วผ่อน เป็นจังหวะใบพัดจะ เคลื่อนที่ต่อเนื่องตลอดเวลาซึ่งเกิดจากพลังงานความเฉื่อยนั่นคือการที่วัตถุรักษาสภาพการหมุนอย่างต่อเนื่องหลักการของกำหมุนนี้ใช้หลักการเดียวกับการปั่นจักรยานแล้วปล่อยให้ล้อหมุนโดยไม่ต้องถีบแต่จักรยานก็จะเคลื่อนที่ต่อได้ซักพักหนึ่งโดยไม่ต้องถีบ

ทำไมแค่เหวี่ยงจักจั่นจึงเกิดเสียง


เสียงของจักจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสีกับยางสนไปแกนไม้ ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษ แล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงความถี่ที่เท่ากันกับความสั่นของเชือก

ดึ๋งดั๋งพลังสปริง


หนอนดินและหนูกะลาวิ่งได้อย่างไร เมื่อดึงเชือกหนอนดินและหนูกะลาหนังยางจะบิดเป็นเกลียวทำให้หนอนและหนูวิ่งไปข้างหน้าเมื่อผ่อนเชือกหนังยางจะคลายตัวและยิ่งถอยหลังการบิดเป็นเกลียวของหนังยางเป็นหลักการเดียวกันของการทำงานของเกลียวสปริงคือเมื่อสปริงหดตัวจะเก็บพลังงานไว้เรียกว่าพลังงานศักย์ และเมื่อสปริงคลายตัวจะเปลี่ยนเป็นพลังงาน ในการเคลื่อนที่เรียกว่าพลังงานจลน์
สปริง
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในของใช้ปัจจุบันหลายอย่างเช่นใช้เป็นโช้คอัพรถยนต์ เพื่อรับน้ำหนักขณะขับขี่เพื่อการคืนตัวของฟูก และที่นอนต่างๆรวมทั้งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรอุตสาหกรรม ฟูก และที่นอน ก็ใช้สปริงเพื่อช่วยการคืนตัวในขณะใช้งาน เมื่อสปริงหดตัวจะเก็บพลังงานไว้เรียกว่าพลังงานศักย์ และเมื่อสปริงคลายตัว จะเปลี่ยนเป็นพลังงานในการเคลื่อนที่เรียกว่าพลังงานจลน์

แรงยกจอมพลัง


คอปเตอร์ไม้ไผ่ และกำหมุนบิน บินออกแบบเป็นเกลียวด้านหนึ่งชาติขึ้น และกำหมุน บินออกแบบเป็นเกลียวด้านหนึ่งเชิดขึ้น อีกด้านหนึ่งจะเชิดลง คล้ายเกลียว เมื่อใบพัดหมุน ใบทั้งสองด้านจะดันอากาศลง เกิดแรงยกตัว เหมือนกับการยกตัวของใบพัด เฮลิคอปเตอร์เครื่องบินและวาล์วที่ออกแบบให้ปีกเอียง เฮลิคอปเตอร์บินได้โดยใช้แรงยกจากลม ที่เกิดจากใบพัดที่หมุนเรียกว่า แรงดันใต้ปีก


ความลับของแรงโน้มถ่วง
นกบิน และปลาว่ายน้ำเคลื่อนที่ลงมาได้อย่างไร แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่โลกดึงดูดวัตถุ ด้วยความเร่งเท่ากัน 9.8 เมตรต่อวินาทีนกบินและปลาว่ายน้ำตกลงมาแต่มีแรงเสียดทานระหว่างเส้นเอ็นกับปากนกและปลาทำให้ตกช้าลงซึ่งคล้ายกับนกบินและปลาว่ายน้ำ

นักกระโดดร่ม
โดดลงจากเครื่องบินอย่างปลอดภัยจะต้องเพิ่มแรงต้านอากาศด้วยร่มขนาดใหญ่ วัตถุที่ตกจากที่สูงเท่ากันแม้น้ำหนักต่างกัน จะตกถึงพื้นด้วยความเร็ว เท่ากันกรณีไม่มีแรงต้าน

หมุนพาเพลิน


ลูกข่างหมุนและตั้งได้อย่างไร ปั่นลูกข่าง ด้วยมือหรือใช้เชือก เหวี่ยง ลูกข่างหมุนที่แกนกลางขนาดเล็ก ตัวลูกข่าง จึงมีน้ำหนักมาก ทำให้มีความเฉื่อยจึงหมุนได้นานและขณะหมุนเกิดแรงที่ตั้งฉาก จับทิศทางการหมุน จึงทำให้ลูกข่างทรงตัวอยู่ได้

นกหวีดดินเผา


หลักการวิทยาศาสตร์ของนกหวีดดินเผา เสียงที่ได้ยิน เกิดจากการเป่าลมเข้าไปในรูทำให้เกิดเสียง และตัวท่อยางเป็นโพรงอากาศ ที่ขยายเสียงให้ดังขึ้นระดับเสียงสูงต่ำจะขึ้นอยู่กับความยาว ของท่อท่อที่ยาว จะให้เสียงต่ำ ท่อที่สั้น จะให้เสียงสูง

ขลุ่ยเสียงนก
หลักการวิทยาศาสตร์ของขลุ่ยเสียงนก เสียงที่ได้ยินจากการเป่าลมเข้าไปในรูทำให้เกิดเสียงและตัวท่อยางเป็นโพรงอากาศ ที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น ระดับเสียงสูงต่ำ จะขึ้นอยู่กับความยาวของท่อ ท่อที่ยาว จะ เสียงตามท่อที่สั้นสระเสียงสูง การดึงก้านชักเข้าออก จะทำให้ความยาวของท่อเปลี่ยนไป โดยท่าดันก้านชัก จนลึก จะทำให้ท่ออากาศสั้น เกิดเป็นเสียงสูงและถ้าดึงก้าน ชักออกท่ออากาศจะยาวขึ้น เกิดเป็นเสียงต่ำ

กล้องสายลับ
หลักการทางวิทยาศาสตร์ มุมตกกระทบ เท่ากับมุมสะท้อนภาพที่เกิดในกระจก เงาระนาบเป็นภาพเสมือนหัวตั้งมีขนาดเท่ากับวัตถุแต่มีลักษณะกลับซ้ายขวากัน

เครื่องร่อนชนิดพุ่งด้วยมือ


การเล่นเครื่องร่อนถือได้ว่าเป็นการก้าวสู่จุดเริ่มต้น ของการเล่นเครื่องบิน โดยเครื่องร่อนที่สามารถสร้างได้ง่ายๆด้วยตัวท่านเอง จากวัสดุนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้กระดาษ โฟม หรือวัสดุผสมอื่นๆ สามารถให้ทางความรู้ในเรื่องอากาศพลศาสตร์ ฟิสิกส์และ เรื่องเกี่ยวกับอากาศ ยาน ตลอดจนเป็นพื้นฐาน อันสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่ การเล่นเครื่องบินเล็ก ที่ถูกต้องได้ในอนาคต เครื่องร่อนมีหลายชนิด แบ่งตามเทคนิคการนำเครื่องร่อนขึ้นสู่อากาศ ได้ 4 ประเภทคือ
1. เครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ
2. เครื่องร่อนแบบยิง หรือดีดขึ้นด้วยยาง
3. เครื่องร่อนแบบใช้สายลาก
4. เครื่องร่อนชนิดมีกำลังขับในตัวเอง



ภาพยนตร์มือถือ



วิธีเล่น มือหนึ่งถือดินสอไว้ อีกมือหนึ่งหมุนภาพยนตร์มือถือ แล้วมองผ่านช่องเล็กๆ น้องน้องก็จะสังเกตเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น

หลักการทางวิทยาศาสตร์ การมองเห็นภาพติดตาซึ่งอธิบายได้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใด ภาพหนึ่งหากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์ จะยังคงรักษาภาพไว้ ที่เรตินาเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆประมาณ 1/15 วินาที ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงนี้ ถ้าหากภายใน ระยะเวลา ดังกล่าว มีอีกภาพแทรกเข้ามา แผนที่ สมองของคน จะทำการเชื่อมโยง 2 ภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ ดังกล่าวต่อไปเรื่อย หากมีภาพต่อไป ปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน หากเป็นภาพที่แสดง ให้เห็นถึงความสอดคล้อง ในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกัน ในระยะเวลา กระชั้นชิด ภาพที่เห็น จะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว ติดต่อกันไปอย่างเป็นธรรมชาติ


Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์งานวันวิทยาศาสตร์ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี

Application
   นำความรู้ที่ได้มาใช้สอนและบูรณาการเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ

Evaluating teacher
  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อมูลในการเข้าร่วมกิจกรรม

Classroom Evaluation
  สถานที่กว้าง สะอาด เหมาะกับการจัดกิจกรรม

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

                                             Record 14
                                             17/11/2015                       


Knowledge

  

ขนมโคเหมาะที่จะทำเป็นฐาน
กระบวนทางวิทยาศาสตร์
กำหนดปัญหา : ทำอย่างไรขนมโคจึงจะกินได้
สมมติฐาน : ใส่ขนมโคในน้ำเดือดจะเกิดอะไรขึ้น
การสังเกต: สี ขนาด รูปทรง

หลักการทางวิทยาศาสตร์
ขนมโค ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว เมื่อนำลงต้มในน้ำ แป้งข้าวเหนียว จะอุ้มน้ำไว้ได้มาก จนถึงระดับหนึ่ง ที่เราเรียกว่าแป้งสุก มวลของน้ำโดยรอบ กับแป้งที่สุกแล้ว เกือบจะเท่ากัน แป้งสุกจึงถูกดันลอยขึ้นมาโดยน้ำร้อนที่จะ ลอยตัวขึ้นบน ได้โดยง่าย (ง่ายกว่าตอนดิบ ที่ยังไม่อุ้มน้ำเต็มที่ 
และลักษณะการอุ้มน้ำของแป้งข้าวเหนียว เป็นการอุ้มเก็บน้ำที่มี การเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุล) จึงเป็นเหตุผลยืนยันได้อีกว่า ทำไมแป้งขนมโค เมื่อสุก จะใส  (ก็แต่ละโมเลกุลของแป้งข้าวเหนียว แทบจะเหมือนลูกโป่งใส่น้ำ) ซึ่งเมื่อดับไฟ ให้อุณหภูมิของน้ำลดลง ขนมโคก็กลับจมลงไปอีก ตามมวลของมัน




ข้าวจี่เหมาะที่จะทำเป็นฐาน


กระบวนทางวิทยาศาสตร์
กำหนดปัญหา : เด็กๆคิดว่าทำอย่างไรให้ไข่ในข้าวจี่กินได้
สมมติฐาน : ข้าวจี่โดนความร้อนจะเกิดอะไรขึ้น
การสังเกต: การเปลี่ยนแปลงของสี






หวานเย็นทำเป็นกลุ่ม
กระบวนทางวิทยาศาสตร์
กำหนดปัญหา : ทำอย่างไรให้น้ำหวานเป็นน้ำเย็น
สมมติฐาน : เมื่อคนหรือขยับกะละมังน้ำเย็นจะเกิดอะไรขึ้น
การสังเกต: การเปลี่ยนแปลงจากของเหลวเป็นของแข็ง

นางสาวกมลรัตน์ มาลัย นำเสนอโทรทัศน์ครู
เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การวิเคราะห์ การสื่อความหมาย การตั้งสมมติฐาน โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง ให้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทดลองเพื่อหาว่าอะไรลอยได้บ้าง




Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษานำอุปกรณ์มาทำ ข้าวจี่ ขนมโคและหวานเย็นโดยให้นักศึกษาลงมือทำเองและให้สังเกตขั้นตอนการทำพร้อมสรุปการทำในแต่ละกิจกรรม

Application
   นำความรู้ที่ได้มาสอนในการทำ Cooking ให้กับเด็กปฐมวัยและทำให้เด็กรู้จักการสังเกตวิเคราะห์และรู้จักการแก้ปัญหา

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลามีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมมาเป็นอย่างดี ให้คำแนะนำอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม

Classroom Evaluation
  ห้องกว้าง สะอาด อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

                                             Record 13
                                            10/11/2015                         


Knowledge

   อาจารย์ให้ทำทาโกยากิและวาฟเฟิล




เมื่อวาฟเฟิลสุกจะเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็งและเปลี่ยนสี
วาฟเฟิลเป็นอาหารว่างที่สามารถใส่ Topping ได้หลายชนิด
ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรม
-ขั้นตอนการทำ
-การสังเกต
-การแก้ปัญหา

Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษานำอุปกรณ์มาทำ ทาโกยากิ และวาฟเฟิลโดยให้นักศึกษาลงมือทำเองและให้สังเกตขั้นตอนการทำพร้อมสรุปการทำในแต่ละกิจกรรม

Application
   นำความรู้ที่ได้มาสอนในการทำ Cooking ให้กับเด็กปฐมวัยและทำให้เด็กรู้จักการสังเกตและรู้จักการแก้ปัญหา

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลามีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมมาเป็นอย่างดี

Classroom Evaluation
   ห้องเรียนสะอาด  ห้องกว้าง  อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

                                       Record 12
                                       3/11/2015                 



Knowledge

   อาจารย์ตรวจแผนทุกแผนที่ทำมาแล้วให้นักศึกษาไปศึกษาแผนของเพื่อนนำสิ่งที่แผนเพื่อนมีแผนตัวเองไม่มีมาเพิ่มเติมแผนตัวเองและอาจารย์ให้คำแนะนำพร้อมกับไปแก้ไขในแต่ละแผน
1.แผนการทดลองเรือไม้จิ้มฟัน
2.แผนการทดลองจรวดกล่องฟิล์ม
3.แผนการทดลองผมของฉัน
4.แผนการทดลองสนุกกับสีดอกไม้
แก้ไข my mapping 
-หน่วยร่างกาย
-หน่วยยานพาหนะ
-หน่วยชุมชน
-หน่วยต้นไม





ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-สังเกต
-จำแนก
-วัด
-สื่อความหมาย
-ลงความเห็น
-มิติสัมพันธ์
-คำนวณ


Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษานำแผนไปติดหน้าห้องแล้วให้นักศึกษาไปศึกษาแผนทุกแผนแล้วนำสิ่งที่เพื่อนมีตัวเองไม่มีมาวิเคราะห์แล้วเขียนลงแผนของตัวเอง

Application
   นำความรู้ที่ได้มาเขียนแผนการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ มีความรู้พื้นฐานในการเขียนแผน

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลามีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนเป็นอย่างดี

Classroom Evaluation
   ห้องเรียนสะอาด  ห้องกว้าง  มีโต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                Record 11
                                               27/10/2015
Knowledge
ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ตัดดอกไม้ระบายสีรอบๆดอก แล้วพับดอกไม้เป็นสี่เหลี่ยม นำดอกไม้ไปลอยในน้ำที่เตรียมไว้และสังเกตว่าดอกไม้เป็นอย่างไร
โดยใช้เวลาเป็นเกณฑ์ในการสังเกต
- ดอกไม้จากหุบเมื่อนำไปลอยในน้ำจะค่อยๆบานออก

2.นำน้ำใส่ในขวดที่เจาะรู 3 รูตามลำดับ แล้วสังเกตดูว่าน้ำพุ่งออกมาจากรูไหนแรงกว่ากันเพราะอะไร?

3.ทำน้ำพุจากขวดน้ำ
- คุณสมบัติของน้ำ
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แรงดันน้ำมากขึ้นเท่าไร น้ำก็จะพุ่งไปข้างหน้ามากเท่านั้น




4.ทำลูกยางกระดาษ ทำจากกระดาษตัดแบ่งครึ่ง พับ แล้วใช้คลิปหนีบแล้วโยนขึ้น สังเกตว่าของใครหมุนลงช้ากว่ากัน
5.ไหมพรมเต้นระบำ ตัดหลอดแบ่งครึ่ง เอาไหมพรมใส่ในหลอดแล้วมัดไหมพรม จากนั้นเป่าหลอด ไหมพรมจะค่อยๆเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
6.การทำเทียนไข
ขั้นตอนการสอน
-แนะนำอุปกรณ์
-ตั้งสมมติฐาน
-ทดลอง
-สรุปผลการทดลอง

Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมแล้วให้สังเกตจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อนแต่ละคนในการทำกิจกรรมพร้อมกับระดมความคิดร่วมกันในการทำกิจกรรม

Application
   นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์การจัดประสบการณ์สอนการออกแบบกิจกรรมที่จะสอนในเรื่องวิทยาศาสตร์ มีความรู้พื้นฐานในการที่จะเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์

Self Evaluation
   มาเรียนสาย ทำงานที่ได้รับมอบมายมาส่งตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายมาส่งตรงเวลา ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลาแต่งกายมาสอนเหมาะสม  มีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนเป็นอย่างดี

Classroom Evaluation
   ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็น ห้องกว้าง  อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                   Record 10
                                                   20/10/2015
Knowledge
นำเสนองานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ที่มาและความสำคัญ
     วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กทม 
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ 
กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ ด้านกาารสังเกต จำแนก การสื่อสาร และการลงความคิดเห็น
เครื่องมือในการวิจัย
1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
สรุป
   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์

นางสาวชนากานต์ แสนสุข
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ครูเล่านิทาน แล้วให้เด็กออกมาเล่าประสบการณ์เดิมของเด็กๆ
2. ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพู ใส่น้ำในขวดแชมพูให้เต็มแล้วถามเด็กว่า ลักษณะของขวดแชมพูเป็นอย่างไร ให้เด็กๆตอบ จากนั้นให้เด็กทดลองบีบขวดจนน้ำในขวดแชมพูหมด

ระดมความคิดภายในกลุ่ม การทำ Cooking ขนมโค

                                           ขนมโค


เครื่องปรุงขนมโค
ตัวแป้ง
1.แป้งข้าวเหนียวขาว 1 ถ้วย
2.น้ำเดือด 1 ถ้วย
หน้ากระฉึก
3.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1/2 ถ้วย
4.น้ำตาลบีบ 1/2 ถ้วย
5.น้ำลอยดอกมะลิ 1/2ถ้วย
น้ำกะทิ
6.กะทิ 2 ถ้วย
7.เกลือป่น 1 ช้อนชา
8.แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนชา
9.น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
10.ใบเตย
วิธีทำ
1.กะทะใส่น้ำตาล มะพร้าว น้ำลอยดอกมะลิตั้งไฟอ่อนพอละลายเข้ากัน ใส่มะพร้าวทึนทึกขูด กวนจนพอให้มีน้ำหล่อ เหนียวเล็กน้อย ตักใส่ภาชนะพักไว้
2.นำหม้อใส่กะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย แป้งข้าวเจ้าคนให้เข้ากัน รอให้เดือดปุดๆ (อย่าใช้ไฟแรงกะทิจะแตกมัน)ปิดไฟ ใส่ใบเตยมัดเป็นห่อ
3.อ่างใส่แป้งข้าวเหนียวขาว ผสมน้ำเดือด ใช้พายยางตลบไปมา นวดจนนุ่มมือ (ถ้าแห้งให้เติมน้ำได้อีก ถ้าเหลวไปเติมแป้งได้)แป้งรวมเป็นก้อน แบ่งแป้งเป็นก้อนกลมเล็กๆแผ่แป้งให้แบนออกใส่ใส้หุ้มให้มิด นำไปต้มในหม้อใส่น้ำ ตั้งไฟกลางอย่าให้น้ำเดือดแรง ใส่ก้อนแป้งลงต้มให้พอแป้งลอยตัว ตักขึ้น ผ่านน้ำเย็น สะเด็ดน้ำ
4.ตักใส่ภาชนะ


Skill
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานวิจัย แล้วอาจารย์จะเพิ่มเติมความรู้ให้ในวิจัยนั้นๆเพื่อเสริมความรู้ในวิจัยนั้นแก่นักศึกษา จากนั้นให้นักศึกษาระดมความคิดการทำ Cooking ในหน่วยที่กลุ่มของตัวเองรับผิดชอบ

Application
นำความรู้ที่ได้ไปสอนเด็กในเรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รู้จักการวางแผนในการสอนเด็กแบบเป็นขั้นตอน

Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา เตรียมตัวเป็นอย่างดีในการนำเสนองานวิจัย แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ

Evaluation for classmated
เพื่อนตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี

Evaluation teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนถูกระเบียบ มีเนื้อหาการสอนที่น่าสนใจ

Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด กว้าง อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย


วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                 Record 9
                                               13/10/2015
Knowledge
 นำเสนอบทความ
นางสาวสุทธิกานต์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
   สสวท ได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเด็ก กิจกรรมที่จัดจะเกี่ยวข้องกับโลกมีอยู่ 2 กิจกรรม
1.หวานเย็นชื่นใจ ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองจนเด็กได้รู้คำตอบ
2.โมบายเริงลม สอนเรื่องอากาศ โดยใช้โมบายให้เด็กได้พิสูจน์ สืบเสาะ สังเกต และได้นำเอาวิทยาศาสตร์มาสอนแบบบูรณาการ

นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง
   ให้เด็กเรียนรู้ การสำรวจการอนุรักษ์ธรรมชาติพร้อมกับผู้ปกครองเพื่อให้เกิดพัฒนาการทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตั้งคำถาม การสืบเสาะหาข้อมูล การคาดคะเน การสังเกตุ และการตั้งคำถาม

นางสาวเจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
   แม่เหล็กเป็นเรื่องที่เด็กสนใจและเป็นเรื่องที่แปลก เพราะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่ใหญ่เข้าไปหาแม่เหล็ก

ไฟฟ้าสถิต
เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันปกติจะแสดงในรูปการดึงดูด






Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความและให้ความรู้เพิ่มเติมต่อบทความนั้น และให้นักศึกษานำของเล่นมาช่วยกันคิดวิเคราะห์หาคำตอบร่วมกับอาจารย์โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดพร้อมหาข้อสรุป

Application
   นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์การจัดประสบการณ์สอนและมาบูรณาการการออกแบบกิจกรรมที่จะสอนเด็กในเรื่องวิทยาศาสตร์และเรื่องต่างต่อไปได้ในอนาคต มีความรู้พื้นฐานในการที่จะเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ทำงานที่ได้รับมอบมายมาส่งตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายมาส่งตรงเวลา ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน

Evaluating teacher
   อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม สอนและปล่อยตรงเวลา มีการเตรียมเนื้อหาที่จะให้ความรู้เพิ่มเติมมาอย่างละเอียดเข้าใจง่าย

Classroom Evaluation
   ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็น ห้องกว้าง มีแสงสว่างเพียงพอ อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย