20/10/2015
Knowledge
นำเสนองานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ที่มาและความสำคัญ
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กทม
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ ด้านกาารสังเกต จำแนก การสื่อสาร และการลงความคิดเห็น
เครื่องมือในการวิจัย
1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
สรุป
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์
นางสาวชนากานต์ แสนสุข
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ครูเล่านิทาน แล้วให้เด็กออกมาเล่าประสบการณ์เดิมของเด็กๆ
2. ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพู ใส่น้ำในขวดแชมพูให้เต็มแล้วถามเด็กว่า ลักษณะของขวดแชมพูเป็นอย่างไร ให้เด็กๆตอบ จากนั้นให้เด็กทดลองบีบขวดจนน้ำในขวดแชมพูหมด
ระดมความคิดภายในกลุ่ม การทำ Cooking ขนมโค
ขนมโค
เครื่องปรุงขนมโค
ตัวแป้ง
1.แป้งข้าวเหนียวขาว 1 ถ้วย
2.น้ำเดือด 1 ถ้วย
หน้ากระฉึก
3.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1/2 ถ้วย
4.น้ำตาลบีบ 1/2 ถ้วย
5.น้ำลอยดอกมะลิ 1/2ถ้วย
น้ำกะทิ
6.กะทิ 2 ถ้วย
7.เกลือป่น 1 ช้อนชา
8.แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนชา
9.น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
10.ใบเตย
วิธีทำ
1.กะทะใส่น้ำตาล มะพร้าว น้ำลอยดอกมะลิตั้งไฟอ่อนพอละลายเข้ากัน ใส่มะพร้าวทึนทึกขูด กวนจนพอให้มีน้ำหล่อ เหนียวเล็กน้อย ตักใส่ภาชนะพักไว้
2.นำหม้อใส่กะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย แป้งข้าวเจ้าคนให้เข้ากัน รอให้เดือดปุดๆ (อย่าใช้ไฟแรงกะทิจะแตกมัน)ปิดไฟ ใส่ใบเตยมัดเป็นห่อ
3.อ่างใส่แป้งข้าวเหนียวขาว ผสมน้ำเดือด ใช้พายยางตลบไปมา นวดจนนุ่มมือ (ถ้าแห้งให้เติมน้ำได้อีก ถ้าเหลวไปเติมแป้งได้)แป้งรวมเป็นก้อน แบ่งแป้งเป็นก้อนกลมเล็กๆแผ่แป้งให้แบนออกใส่ใส้หุ้มให้มิด นำไปต้มในหม้อใส่น้ำ ตั้งไฟกลางอย่าให้น้ำเดือดแรง ใส่ก้อนแป้งลงต้มให้พอแป้งลอยตัว ตักขึ้น ผ่านน้ำเย็น สะเด็ดน้ำ
4.ตักใส่ภาชนะ
Skill
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานวิจัย แล้วอาจารย์จะเพิ่มเติมความรู้ให้ในวิจัยนั้นๆเพื่อเสริมความรู้ในวิจัยนั้นแก่นักศึกษา จากนั้นให้นักศึกษาระดมความคิดการทำ Cooking ในหน่วยที่กลุ่มของตัวเองรับผิดชอบ
Application
นำความรู้ที่ได้ไปสอนเด็กในเรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รู้จักการวางแผนในการสอนเด็กแบบเป็นขั้นตอน
Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา เตรียมตัวเป็นอย่างดีในการนำเสนองานวิจัย แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ
Evaluation for classmated
เพื่อนตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี
Evaluation teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนถูกระเบียบ มีเนื้อหาการสอนที่น่าสนใจ
Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด กว้าง อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น